Get Adobe Flash player

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น เพื่อภาคเกษตรและสิ่งแวดล้อม
เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ชีวภาพหลากหลายสายพันธุ์ที่ใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์ชั้นสูง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมต่อการ ใช้งานแต่ละประเภทอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE เพื่อการเกษตรยุคใหม่

1. ช่วยสร้างเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มความสมบรูณ์แข็งแรงแก่พืช
2. ช่วยฟื้นฟูปรับสภาพดินให้ร่วนซุยอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
3. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทนทานต่อโรค และแมลงได้ดี
4. ช่วยเพิ่มน้ำหนักป้องกันการทรุดโทรมของพืช
5. ประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญ รวมถึงวิตามิน และอะมิโนโปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
6. ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ได้ดีกับพืชแต่ละชนิดตามสูตรที่ได้พัฒนาขึ้น
7. สามารถใช้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE เพื่อสิ่งแวดล้อม

1. มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารชีวภาพที่เป็นตัวการทำให้น้ำเสียและกลิ่นเหม็น
2. ใช้บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม, น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน
3. ใช้เทพื้นห้องน้ำ,ชักโคก ช่วยขจัดกลิ่นเหม็น
4. ช่วยย่อยสลายกากมูลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสูบของเสียจากบ่อส้วม
5. ช่วยเร่งการย่อยสลายขยะในส่วนที่เป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมันและสารชีวภาพอื่นๆ
6. ช่วยดับกลิ่นเหม็นของขยะได้โดยสิ้นเชิง
7. ลดระยะเวลาการย่อยสลายขยะ, ลดพื้นที่ของบ่อขยะและบำบัดน้ำเสียจากขยะ
8. ปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE ที่นำเข้าร่วมในโครงการฯมีจำนวน 12 สูตรดังนี้

  • A.B.N. 1 (A.BIONANO 1) สูตรสำหรับข้าว
  • A.B.N. 2 (A.BIONANO 2) สูตรสำหรับยางพารา
  • A.B.N. 3 (A.BIONANO 3) สูตรสำหรับปาล์มน้ำมัน
  • A.B.N. 4 (A.BIONANO 4) สูตรสำหรับไม้ผล
  • A.B.N. 5 (A.BIONANO 5) สูตรพืชผัก
  • A.B.N. 6 (A.BIONANO 6) สูตรไม้ดอกไม้ประดับ
  • A.B.N. 7 (A.BIONANO 7) สูตรพืชรวม
  • A.B.N. 8 (A.BIONANO 8) สูตรสำหรับมันสำปะหลังและอ้อย
  • A.B.N. 9 (A.BIONANO 9) สูตรบำบัดน้ำเสีย
  • A.B.N. 10 (A.BIONANO 10) สูตรย่อยสลายและดับกลิ่นขยะ
  • A.B.N. 11 (A.BIONANO 11) สูตรกำจัดลูกน้ำและยุงลาย
  • A.B.N. 12 อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ สูตรเข้มข้นพิเศษ(สำหรับหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 1-10 และ A.B.N. 88)
  • A.B.N. 88 (A.BIONANO 88)

ความหมายของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากและมีอยู่ทุกหนทุกแห่งแม้แต่ในร่างกายของเรา
จุลินทรีย์มีอายุสั้นมากเพียง 48-72 ชั่วโมง แต่สามารถขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัว
ได้อย่างทวีคูณ เริ่มจาก 100 เซลล์เป็น 10,000 เซลล์ และจาก 1 หมื่นเซลล์
เป็น 100 ล้านเซลล์ ใน 4-6 ชั่วโมง เซลล์ จุลินทรีย์มีองค์ประกอบของธาต
ุอาหารหลักครบถ้วน จึงสามารถเป็นแหล่งอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นได้เป็นอย่างดี
จุลินทรีย์มีประโยชน์ที่หลากหลาย ทั้งทางด้านเกษตรและด้านอุตสาหกรรม เช่น
ช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยย่อยสารอินทรีย์ ให้เป็นสารอนินทรีย์ที่พืชนำไปใช้ได้
จึงช่วยให้เกิดการหมุนเวียน ของแร่ธาตุต่างๆ ในดิน นอกจากนั้น จุลินทรีย์ยังมีความ
หลากหลายทางชีวภาพสูงมาก จุลินทรีย์ในโลกนี้มีอยู่ประมาณ 5 แสนชนิด
แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 5 กลุ่ม คือ แบคทีเรีย สาหร่าย ไวรัส โพรโทซัว
และราชนิดต่างๆ สามารถจำแนกเป็นอาณาจักรได้ถึง 3 อาณาจักร ตามลักษณะ
โครงสร้างของเซลล์ที่ต่างกัน รวมถึงวิธีการได้อาหารที่แตกต่างกัน ได้แก่
1. กลุ่มที่จัดอยู่ในอาณาจักรโมเนรา(Monera) ประกอบด้วยจุลินทรีย์พวก
โพรคาริโอต ซึ่งมีเซลล์แบบโพรคาริโอติกเซลล์ (Prokaryotic cell) คือ
ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. กลุ่มที่จัดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา (Protista) ประกอบด้วย สาหร่าย
โพรโทซัวและราเมือก
3. กลุ่มที่จัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ (Fungi) ได้แก่ ยีสต์ที่มีลักษณะเซลล์เดียว
เห็ดและรา ที่มีหลายเซลล์เรียงเป็นเส้นใยจำนวนมาก เรียกว่า ไมซีเลียม เห็ด รา และยีสต์จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางพันธุกรรม จุลินทรีย์สปีชีส์เดียวกันอาจ
ไม่ได้มีลักษณะที่ เหมือนกันทุกประการ ทำให้แบ่งย่อยออกเป็นสายพันธุ์
(strain) ต่างๆ ได้อีก

ความแตกต่างทางพันธุกรรมนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการวิวัฒนาการ
อันยาวนานนับพันล้านปี ทำให้จุลินทรีย์สามารถปรับตัวให้อยู่ในสิ่งแวดล้อม
ที่เปลี่ยนแปลงและมีความรุนแรงได้ ทำให้สามารถพบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม
ทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่บริเวณที่เย็นจัดแม้ในหิมะ
และน้ำแข็งขั้วโลก จนถึงบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในบ่อน้ำพุร้อน แม้แต่ในทะเล
ลึกที่มีความกดดันของน้ำมากๆ ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด สระน้ำ ลำธาร น้ำไหล ในดินแฉะ บนก้อนหินดินทรายตามเปลือกไม้และพบได้ทั้งในสภาพซึ่งไม่มีออกซิเจนที่สิ่งมี ชีวิตอื่น
ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้

ความสำคัญของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์แต่ละเซลล์จะมีกระบวนการต่างๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้ภายในเซลล์เดียว
กระบวนการ เปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวมันเอง
เช่น ยีสต์ มีการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงานด้วยกระบวนการหมัก
(fermentation) ขณะเดียวกันก็ได้ผลผลิตเกิดขึ้น คือ เอทิลแอลกอฮอล์ที่เรานำไป
ใช้ประโยชน์ได้ มีจุลินทรีย์จำนวนมากที่มีความสำคัญในการผลิตสารต่างๆ
ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ดังนี้

 

การผลิตอาหาร
อาหารและเครื่องดื่มหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของจุลินทรีย์ ซึ่งมนุษย์เรา
ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานแล้ว อาหารที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ เช่น

  • อาหารหมักต่างๆกะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง ไส้กรอก เกิดจากการกระทำ
    ของแบคทีเรียที่สร้าง กรดแล็กติก เป็นส่วนใหญ่ แบคทีเรียเหล่านี้อาจมี
    อยู่ตามธรรมชาติบนอาหารหรือเราตั้งใจใส่เชื้อนั้นลงในอาหาร

ผลิตภัณฑ์นมหมัก (fermented milk) มีหลายชนิด ได้แก่ นมเปรี้ยว เนยแข็ง
นมเปรี้ยวซึ่งมีรสเปรี้ยวเกิดจากการหมักนม

  • ผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำจากนม ได้แก่ เนยเหลว (butter) ซึ่งทำจากไขมันในนม
    โดยนำนมมาปั่น ไขมันจะรวมตัวเป็นเม็ดแล้วกรองเอาส่วนที่เป็นน้ำออก
    นำไขมันมาเติมเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เนยเหลวมีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว
  • การทำขนมปัง อาศัยจุลินทรีย์จำพวกยีสต์ใส่ลงในแป้งที่จะทำขนมปังแล้วนวด ยีสต์จะเกิดกระบวนหมักให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแป้งอุ้มก๊าซนี้ไว้
    จึงทำให้แป้งอ่อนนุ่มและพองตัว แป้งขนมปังที่ขึ้นฟูนี้เรียกว่า โด (dough)
    เมื่อนำแป้งไปอบ จึงทำให้ขนมขึ้นฟู การคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์ที่ดีจะทำให้ขนม
    ปังมีกลิ่นรสที่ดีและสามารถหมักน้ำตาลได้มาก
    และรวดเร็ว คุณภาพของขนมปังนอกจากขึ้นกับการเลือกชนิดยีสต์แล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพการบ่มเชื้อและชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ด้วย
  • การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ ไซเดอร์ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่
    ใช้ ไซเดอร์ทำจากแอปเปิล ไวน์ทำจากองุ่น เบียร์ทำจากข้าวบาเลย์
    จุลินทรีย์ที่ใช้ คือ ยีสต์ ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลในพืชหรือผลไม้ให้เป็น
    แอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงกับสาร
    อื่นๆ ทำให้ได้รสชาติดี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดมีรสชาติต่างกัน
    เนื่องจากใช้วัตถุดิบ วิธีการและสายพันธุ์ยีสต์ที่ต่างกัน
  • การผลิตเบียร์ อาศัยยีสต์ในกระบวนการหมัก วัตถุดิบที่ใช้ คือ ข้าวมอลต์ที่
    กำลังงอก(barley malt) และแป้ง (starch adjuncts) ผสมกับน้ำอุ่น หลังจากปล่อยให้เอนไซม์ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลแล้วจะได้น้ำเวิร์ท (wort)
    ออกมา เอามากรองและต้มกับดอกฮอป (hops) เพื่อให้น้ำเวิร์ทเข้มข้น
    มีรสชาติเพิ่มขึ้นและทำลายจุลินทรีย์ แล้วนำมาหมักด้วยยีสต์
    ซึ่งจะหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์และ คาร์บอนไดออกไซด์
    และเกิดการเปลี่ยนแปลงกับโปรตีนและสารอื่นๆ ทำให้เกิดรสชาติที่ดี
  • การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก ที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส ผลิตจากวัตถุดิบพวกแป้ง
    และน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม กากน้ำตาล โดยมีการเปลี่ยนแปลง
    2 ขั้นตอน คือ การหมักน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ในสภาพ
    ไม่ใช้ออกซิเจน โดยอาศัยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae var.
    ellipsoideus
    และขั้นตอนที่สองเป็นการออกซิไดซ์แอลกอฮอล์ให้เป็นกรด
    น้ำส้ม หรือกรดแอซิติก โดยแบคทีเรีย Acetobacter และ Gluconobacter
  • การผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ จุลินทรีย์พวกแบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่าย
    อาจใช้เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และสัตว์ได้ จุลินทรีย์เหล่านี้เจริญได้รวดเร็ว
    ทำให้ได้ผลผลิต คือ โปรตีนจำนวนมากและมีคุณภาพดี เพราะประกอบด้วย
    กรดอะมิโนจำเป็นและวิตามินปริมาณสูง

การผลิตผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของแบคทีเรีย ได้แก่

  • การผลิตกรดแล็กติก ที่ใช้รักษาโรคขาดแคลเซียม, รักษาโรคโลหิตจาง และใช้เป็นตัวทำละลายแลคเกอร์
  • การผลิตกรดซิตริกหรือกรดส้ม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ในอุตสาหกรรมน้ำหมึก สีย้อม และใช้ในวงการแพทย์ มีเชื้อราหลายชนิดที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดส้มได้
  • การผลิตกรดอะมิโน จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนจากสารประกอบไนโตรเจน ซึ่งอาจสังเคราะห์ได้มากเกินความต้องการ จึงขับออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อ จุลินทรีย์บางชนิดสังเคราะห์กรดอะมิโนได้มากจนผลิตเป็นการค้าได้ เช่น แอล-ไลซีน (L-lysine) กรดแอล-กลูตามิก (L-glutamic acid) เป็นต้น
  • การผลิตเอนไซม์ มีราและแบคทีเรียหลายชนิดที่สังเคราะห์เอนไซม์และขับออกจากเซลล์มาอยู่ใน อาหาร ในทางอุตสาหกรรม สามารถเลี้ยงเชื้อราและแบคทีเรียให้สร้างเอนไซม์และทำให้เอนไซม์บริสุทธิ์ ได้ เช่น
    • เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ใช้เอนไซม์นี้ในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล เพื่อการผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ในการทำให้ไวน์ เบียร์ และน้ำผลไม้ใสขึ้น
    • เอนไซม์อินเวอร์เทส (Invertase) ใช้ย่อยซูโครสให้เป็นกลูโคสกับฟรักโทส จึงใช้ในอุตสาหกรรมทำลูกกวาด ไอศกรีม
    • โปรตีเอส (Protease) เป็นคำเรียกเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซึ่งมีหลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง การทำกาว การทำให้เนื้อนุ่ม ทำให้เครื่องดื่มใส
    • เอนไซม์เพกทิเนส (Pectinase) ใช้ในการทำให้น้ำผลไม้ใส และย่อยเพกทินในการแช่ต้นแฟลกซ์ เพื่อทำผ้าลินิน

การผลิตเชื้อเพลิง
การเกิดเชื้อเพลิงธรรมชาติในรูปถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต้องใช้เวลานับล้านๆ ปี โดยเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ที่ตายรวมกันเป็นตะกอน โดยอาศัยอุณหภูมิสูงและแรงกดดัน รวมทั้งการกระทำของจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดสิ้นเปลืองกำลังลดปริมาณลงอย่างรวด เร็ว ในขณะที่โลกมีความต้องการพลังงานจากเชื้อเพลิงมากขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทั่วโลกจึงหันมาสนใจหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งมีหลายแบบ แบบหนึ่ง คือ การผลิตเชื้อเพลิงโดยอาศัยจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงชนิดนี้ ได้แก่ แอลกอฮอล์ และมีเทน

จุลินทรีย์จำพวกยีสต์ สามารถเกิดกระบวนการหมักสารคาร์โบโฮเดรตให้ได้แอลกอฮอล์ เพื่อใช้ทำเครื่องดื่ม พลังงานอีกชนิดหนึ่งได้จากก๊าซชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน (CH4) ที่ได้จากการหมักมูลสัตว์และของเสียจากสัตว์ โดยรวบรวมของเสียเหล่านี้ใส่ในถังหมักที่มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ ทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาในที่ไม่มีอากาศ จุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ในของเสียไปและเกิดก๊าซมีเทนขึ้น ก๊าซนี้นำ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหาร ของเหลือจากถังหมักเมื่อสะสมมากๆ ยังนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ ปัจจุบันครอบครัวตามชนบทมีการทำเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้เอง
การบำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสียประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งวิธีทางกายภาพ, เคมีและชีวภาพ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพเป็นการบำบัดขั้นต้น เพื่อกำจัดสารแขวนลอยขนาดใหญ่ออกด้วยการตกตะกอน แยกด้วยตะแกรงแยกขยะ, การกรอง, การหมุนเหวี่ยง เป็นต้น ส่วนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี เช่น การออกซิเดชัน, รีดักชัน โดยการเติมสารเคมีไปทำปฏิกิริยาลดหรือเติมออกซิเจนให้กับสารที่ต้องการกำจัด เพื่อให้เปลี่ยนเป็นสารประกอบรูปอื่นที่ไม่เป็นพิษแล้วจึงตกตะกอนแยกออกไป วิธีนี้มักใช้บำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนน้ำทิ้งจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารอินทรีย์มาก เช่นโรงงานกระดาษ, โรงงานน้ำตาล, โรงงานเบียร์ ต้องใช้กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยอาศัยจุลินทรีย์ที่เติมให้ หรือจุลินทรีย์ในธรรมชาติมาย่อยสลายสารอินทรีย์

การย่อยสลายสารอินทรีย์และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
จุลินทรีย์ในดินพวกแบคทีเรียและเห็ดราชนิดต่างๆ ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ได้สารอาหารจากซากเหล่านั้น และนำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสารอินทรีย์ที่สลายเป็นสารอนินทรีย์ ก็เป็นสารอาหารของพืชที่ดูดซึมไปสร้างเนื้อเยื่อพืชได้ ดังนั้น ถ้าขาดจุลินทรีย์ในดิน จะทำให้ดินขาดสารอาหาร และพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จุลินทรีย์ในดิน จึงเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของสารต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรซัลเฟอร์ เป็นต้น ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจนอิสระอยู่ถึง 78% แต่พืชไม่สามารถนำไปสร้างโปรตีนในเซลล์ได้ พืชได้รับไนโตรเจนในรูปเกลือไนเตรตที่รากดูดขึ้นมาจากดิน แต่จุลินทรีย์บางชนิดมีความสามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้ เป็นสารประกอบไนเตรต จุลินทรีย์เหล่านี้บางชนิดอยู่ร่วมกับรากพืช เช่น แบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) อยู่ร่วมกับรากพืชตระกูลถั่วแบบพึ่งพาอาศัยแบคทีเรียบางชนิดตรึงก๊าซไนโตรเจนแบบอิสระได้ เช่น Rhodospirillum rubrum, Rhodopseudomonas vanniellii หรือไซยาโนแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ เช่น Anabaena spp., Nostoc spp.,Oscillatoria spp. เมื่อตรึงก๊าซไนโตรเจนแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นแอมโมเนีย และพืชนำไปใช้เปลี่ยนเป็นโปรตีนในพืช เมื่อพืชถูกสัตว์กินจะเปลี่ยนเป็นโปรตีนในสัตว์ เมื่อพืชและสัตว์ตายลงรวมทั้งสิ่งขับถ่ายจากสัตว์จะทับถมลงดิน โปรตีนและกรดนิวคลีอิกจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียบางชนิดในดินได้กรดอะมิโน ซึ่งถูกย่อยต่อได้แอมโมเนีย แอมโมเนียอาจระเหยออกจากดินหรือละลายน้ำกลายเป็นเกลือแอมโมเนียม (NH4+) หรือถูกพืชและจุลินทรีย์นำไปใช้และอาจเปลี่ยนต่อไปเป็นไนไตรต์ (NO2-) และไนเตรต (NO3-) ไนเตรตที่ผลิตโดยจุลินทรีย์จึงเป็นปุ๋ยให้แก่พืชได้


การผลิตสารปฏิชีวนะและวัคซีน
สารปฏิชีวนะ หมายถึง สารที่ใช้รักษาโรคต่างๆ โดยสร้างได้จากจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง เพื่อไปยับยั้งหรือทำลายการเจริญของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง โดยไม่ทำอันตรายต่อผู้ใช้
ตัวอย่างสารปฏิชีวนะที่สร้างจากแบคทีเรีย เช่น สเตรปโตไมซิน คลอเตตราไซคลิน หรือ ออริโอไมซิน ออกซีเตตราไซคลิน หรือเทอราไมซิน คลอแรมเฟนิคอล อิริโธรไมซิน แอมโฟเทอริซิน บาซิตราซิน เป็นต้น
การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรควิธีหนึ่ง โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเอง การควบคุมโรคติดเชื้อจึงจำเป็นต้องผลิตวัคซีนจำนวนมากซึ่งผลิตในลักษณะเป็น การค้า วัคซีนที่ฉีดเข้าไปก็คือ แอนติเจนที่เราจงใจใส่เข้าไปเพื่อให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะกับ แอนติเจนนั้นๆ ภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายได้นานเท่าใดขึ้นอยู่กับชนิดของแอนติเจนที่เข้า ไปกระตุ้น เช่น วัคซีนที่เตรียมจากเชื้อตายแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันได้จำกัดเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี ได้แก่ วัคซีนไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ไอกรน โรคพิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ ส่วนวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีชีวิตหรือเชื้อที่อ่อนกำลังลงจะให้ผลคุ้ม กันในระยะนาน ได้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดกิน หัด หัดเยอรมัน คางทูม นอกจากนี้ยังใช้ทอกซินที่หมดพิษแล้ว ที่เรียกว่า ทอกซอยด์ มาทำเป็นวัคซีนได้ เพราะยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ เช่น ทอกซอยด์ของโรคคอตีบ และบาดทะยัก แอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นโดยพลาสมาเซลล์ (plasma cell) ที่เปลี่ยนแปลงมาจากบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) เมื่อแอนติบอดีจับกับแอนติเจนแล้วจึงกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์มา จับกินด้วยวิธี ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) การที่แอนติบอดีจับกับแอนติเจนที่จำเพาะเจาะจงนั้น จึงทำให้แอนติบอดี ป้องกันโรคได้เพียงชนิดเดียว เมื่อเชื้อโรคถูกกำจัดออกไปแล้ว แอนติบอดีจะลดน้อยลง พลาสมาเซลล์จะเปลี่ยนเป็นเมมมอรีเซลล์ (memory cell) ซึ่งมีอายุยืนกว่า และจะเปลี่ยนกลับไปเป็นพลาสมาเซลล์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน หรือเชื้อชนิดเดิมอีกเป็นครั้งที่สอง ทำให้สร้างแอนติบอดีได้ปริมาณมากกว่า และรวดเร็วกว่า จึงทำลายเชื้อโรคนั้นได้ทันท่วงที
นอกจากประโยชน์ต่างๆ แล้ว ยังมีจุลินทรีย์หลายร้อยชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแก่คน สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดโรคแก่สิ่งมีชีวิตที่มันเข้าไปอาศัยอยู่หรือที่ เรียกว่าโฮสต์ได้นั้นจะต้องมีกลไกที่จะเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โฮสต์ แต่ถ้าโฮสต์มีความต้านทานสูงกว่า จะสามารถทำลายจุลินทรีย์ เหล่านั้นได้และไม่เกิดโรคขึ้น ปัจจัยที่ทำให้จุลินทรีย์ สามารถก่อโรคได้ ขึ้นอยู่กับสารพิษ (toxin) ที่มันสร้างขึ้น ซึ่งอาจทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายโฮสต์ หรือทำลายเนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อประสาท นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังมีสารบางอย่างและเอนไซม์ที่ย่อยสลายส่วนประกอบของ เนื้อเยื่อโฮสต์ ทำให้มันบุกรุกเข้าเนื้อเยื่อโฮสต์ และทำอันตรายโฮสต์ได้
ตัวอย่างโรคของคนที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น ปอดบวม Diplococcus pneumoniae, วัณโรค Mycobacterium tuberculosis, โรคเรื้อน Mycobacterium leprae, บาดทะยัก Clostridium tetani, อหิวาตกโรค Vibrio cholerae, ไทฟอยด์ Salmonella typhi, บิด Shigella dysenteriae, ซิฟิลิส Treponema pallidum, คอตีบ Corynebacterium diphtheriae, ไอกรน Bordetella pertussis เป็นต้น
โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคกลัวน้ำหรือโรคพิษสุนัขบ้า Rabies virus, ไข้เลือดออก Dengue virus, ไขสันหลังอักเสบ (โปลิโอ) Poliovirus, หัด Measles virus, หัดเยอรมัน Rubella virus, คางทูม Mump virus, ไข้หวัด Rhinovirus, ไข้หวัดใหญ่ Influenza virus, เริม Herpers simplex virus, อีสุกอีใสและ

งูสวัด Varicella - Zoster virus, ฝีดาษ Variola virus, ตับอักเสบชนิดเอ Hepatitis A virus, ตับอักเสบชนิดบี Hepatitis B virus, เอดส์ Human immunodeficiency virus (HIV) เป็นต้น

โรคที่เกิดจากเชื้อรา มีทั้งชนิดที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่เยื่อบุผิวชั้นนอกและเยื่อเมือกของ เซลล์ชั้นนอก ๆ การติดเชื้อแบบนี้เรียกว่า โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatomycoses หรือ Cutaneous mycoses) เช่น โรคกลาก เกลื้อน ตามผิวหนัง เล็บ และผม เกิดจากเชื้อ Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton ส่วนพวกที่ทำให้เกิดโรคในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังลงไป เรียกว่า Deep mycoses หรือ Subcutaneous mycoses เกิดจากเชื้อ Blastomyces, Histoplasma, Sporotrichum เป็นต้น

ถึงแม้จุลินทรีย์บางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคได้ แต่ด้วยเทคโนโยลีทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า ทำให้มนุษย์สามารถดึงเอาข้อด้อยดังกล่าวมาสร้างประโยชน์ได้ เช่นนำจุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) ซึ่งเป็นแบคทีเรียรูปแท่ง ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นคือมีความเป็นพิษสูงต่อลูกน้ำยุงลาย จุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) ได้นำมาใช้กำจัดลูกยุงและริ้นดำ นานกว่า 20 ปี แล้ว และยังไม่มีรายงานว่าเป็นพิษภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง

คุณสมบัติพิเศษของจุลินทรีย์

  • จุลินทรีย์มีความสามารถที่พิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น คือ สามารถขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวได้อย่างทวีคูณ คือเริ่มจาก 100 เซลล์เป็น 10,000 เซลล์ และจาก 1 หมื่นเซลล์ เป็น 100 ล้านเซลล์ ใน 4-6 ชั่วโมง
  • จุลินทรีย์มีอายุสั้นมากเพียง 48-72 ชั่วโมง จึงสามารถเป็นแหล่งอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นได้เป็นอย่างดี
  • เซลล์จุลินทรีย์มีองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักครบถ้วน

จุดอ่อนของจุลินทรีย์คือ

  • จุลินทรีย์มีการกลายพันธุ์ตลอดเวลาและกลายพันธุ์โดยธรรมชาติมากกว่า 95 %
  • มีประสิทธิภาพ, คุณภาพ แย่ลงกว่าแม่หัวเชื้อในระยะแรกอย่างมาก
  • สาเหตุหนึ่งมาจากการผสมพันธุ์ระหว่างตระกูลครอบครัวเดียวกัน

การป้องกันการกลายพันธุ์
1. การนำจุลินทรีย์มาขยายปริมาณเซลล์ ไม่ควรเกิน 3 รอบ ของการต่อเชื้อ

2.ไม่ควรให้เซลล์จุลินทรีย์สัมผัสกับแสง UV โดยตรง


วิธีใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 1-8 และ 88
นำหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N.สูตรต่าง ๆ และอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สูตรเข้มข้นพิเศษ A.B.N.12
อย่างละ 1 ส่วน ผสมกับน้ำเปล่า 1,500 ส่วน คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน (8-12 ชั่วโมง) ก่อนนำไปใช้
ฉีดพ่น หรือรด ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ (1 มิลลิลิตร : 1 มิลลิลิตร : 1.5 ลิตร หรือ 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) : 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) : 22.5 ลิตร หรือประมาณ 1 ปี๊ป)

หมายเหตุ : เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ควรใช้ถ้วยตวงยาน้ำ หรือช้อนโต๊ะมาตรฐานสำหรับสูตรอาหาร ไม่ใช้ช้อนกินข้าว

 

2. ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นสำหรับสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นสำหรับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมี 3 สูตร ได้แก่
A.B.N. 9 (A.BIONANO 9) สูตรบำบัดน้ำเสีย, A.B.N. 10 (A.BIONANO 10) สูตรย่อยสลายและดับกลิ่นขยะ,
A.B.N. 11 (A.BIONANO 11) สูตรกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นสำหรับสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สำคัญชนิดต่าง ๆ ดังนี้

• จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงผลิตออกซิเจน (Oxigenic photosynthetic organics)
• จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing bacteria)
• จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria)
• จุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส (Bacillus)
• ยีสต์ (Yeasts)

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นสำหรับสิ่งแวดล้อม
A.B.N. 9 (A.BIONANO 9) สูตรบำบัดน้ำเสีย
เป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารชีวภาพ ที่เป็นตัวการทำให้น้ำเสียและกลิ่นเหม็นหมดสิ้นไป ช่วยในการเร่งการย่อยสลายขยะในส่วนที่เป็นโปรตีน, คาร์โบไฮเดรท, ไขมันและสารชีวภาพอื่นๆ ทำให้ลดระยะเวลาในการย่อยสลาย, ลดพื้นที่ของบ่อขยะเพื่อไม่ให้เป็นที่น่ารังเกียจและบำบัดน้ำเสียที่ออกจาก กองขยะให้ปราศจากกลิ่นเหม็นและยังมีสูตรกำจัดลูกน้ำยุงลายอีกด้วย ซึ่งการใช้จุลินทรีย์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ไม่มีสารพิษตกค้างและไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

วิธีใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 9 (A.BIONANO 9) สูตรบำบัดน้ำเสีย

  1. สำหรับเริ่มเดินระบบบำบัดน้ำเสียในครั้งแรก (Start up) ของระบบสระเติมอากาศ (Aerated

lagoon), ระบบบำบัดแบบตะกอนแร่ง (Activated Sludge), ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Bacth Reactor), และระบบบำบัดแบบจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor) โดยใช้ A.B.N.9 ปริมาณ 1 ลิตร (อาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ลิตร, น้ำสะอาด 1,500 ลิตร) ต่อน้ำเสีย 10,000 ลิตร หลังจากระบบบำบัดน้ำเสียคงที่แล้ว จึงใช้ A.B.N.9 อัตรา 1 ลิตร (อาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ลิตร, น้ำสะอาด 1,500 ลิตร) ต่อน้ำเสีย 100,000 -300,000 ลิตร โดยใช้ระบบน้ำหยด.

  1. สำหรับบ้านเรือนและน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน ใช้ A.B.N. 9 และอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สูตร

เข้มข้นพิเศษ A.B.N.12 อย่างละ 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับน้ำเปล่า 20 ลิตร (1 ปี๊ป) คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน (8-12 ชั่วโมง) ก่อนนำไปใช้เทพื้นห้องน้ำ, โถชักโครก หรือส้วมซึม ช่วยขจัดกลิ่นเหม็น, ช่วยย่อยสลายกากมูลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสูบหรือดูดของเสียจากบ่อ ส้วม
หมายเหตุ : เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ควรใช้ถ้วยตวงยาน้ำ หรือช้อนโต๊ะมาตรฐานสำหรับทำอาหาร ไม่ใช้ช้อนกินข้าว

 

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นสำหรับสิ่งแวดล้อม
A.B.N. 10 (A.BIONANO 10) สูตรย่อยสลายและดับกลิ่นขยะ
เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพหลากหลายสายพันธุ์ที่ใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์ ขั้นสูง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์หลายพันล้านตัว ช่วยในการเร่งการย่อยสลายขยะ, ในส่วนที่เป็นโปรตีน, คาร์โบไฮเดรท, ไขมัน และสารชีวภาพอื่นๆ ที่ช่วยในการดับกลิ่นเหม็นของขยะได้โดยสิ้นเชิง ทำให้ลดระยะเวลาในการย่อยสลาย และลดพื้นที่ของบ่อขยะเพื่อไม่ให้เป็นที่น่ารังเกียจ และบำบัดน้ำเสียที่ออกจากกองขยะให้ปราศจากกลิ่นเหม็น

วิธีใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 10 (A.BIONANO 10) สูตรย่อยสลายและดับกลิ่นขยะ
นำหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N.10 และอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สูตรเข้มข้นพิเศษ A.B.N.12
อย่างละ 1 ส่วน ผสมกับน้ำเปล่า 1,500 ส่วน คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน (8-12 ชั่วโมง) ก่อนนำไปใช้
ฉีดพ่น หรือรดขยะ ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ (1 มิลลิลิตร : 1 มิลลิลิตร : 1.5 ลิตร หรือ 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) : 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) : 22.5 ลิตร หรือประมาณ 1 ปี๊ป)

หมายเหตุ : เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ควรใช้ถ้วยตวงยาน้ำ หรือช้อนโต๊ะมาตรฐานสำหรับทำอาหาร ไม่ใช้ช้อนกินข้าว

 

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE หัวเชื้อจุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) เข้มข้น
A.B.N. 11 (A.BIONANO 11) สูตรกำจัดลูกน้ำยุงลาย
A.B.N. 11 (A.BIONANO 11) หัวเชื้อจุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) เข้มข้น สูตรกำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ผลิตขึ้นโดยกลุ่มงานนักเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความเชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ใน เขตร้อนชื้น(Ttopical Biotechnology)โดยเฉพาะ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีประโยชน์ในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย, ยุงพาหนะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก มีสารออกฤทธิ์หลักจากกลุ่มจุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์เขตร้อนชื้น (Tropical Country) เหมาะกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย มีความปลอดภัยสูง, ไม่มีพิษต่อคน, สัตว์ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สารออกฤทธิ์จะเคลือบที่ผิวหนังภาชนะกักเก็บน้ำเมื่อเติมน้ำให้ท่วมสารออก ฤทธิ์จะปลดปล่อยออกมาช้าๆ อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้สามารถควบคุมการเกิดลูกน้ำยุงลายได้ยาวนาน.
หัวเชื้อจุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) เข้มข้น มีประสิทธิ ภาพกำจัดยุงลายได้ 100% ในเวลา 24-48 ชั่วโมง อัตราการใช้ 1 ซีซี ต่อน้ำ 150 ลิตร และฤทธิ์ของจุลินทรีย์ มีความคงทนกำจัด ยุงลายได้นานในช่วง 15-90 วัน จุดเด่นของ หัวเชื้อจุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) เข้มข้น คือ เป็นผลิคภัณฑ์จากธรรมชาติไม่มีสารเคมีตกค้าง เมื่อใส่ในน้ำอุปโภคและบริโภคแล้ว ไม่ทำให้มี คลาบน้ำมัน น้ำไม่ขุ่น ไม่มีกลิ่น ไม่ทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไป

จุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) เป็นแบคทีเรียรูปแท่ง (Rod Shape) ติดสีแกรมบวก (Gram Positive Bacilli) เจริญได้ดีในสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่มีสภาวะเหมาะสม (Aerobic Bacteria) สร้างสปอร์ (Endrospore Forming) ซึ่งเป็น Cry Toxin Genes มี 4 ตัว ได้แก่ Cry 4A, Cry 4B, Cry 4D, Cyt 4A, มีขนาด 135, 128, 72, และ 28 kDa ตามลำดับ โดย Cry 4B เป็น Toxin Gene ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น มีความเป็นพิษสูงต่อลูกน้ำยุงลาย จุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) ได้นำมาใช้กำจัดลูกยุงและริ้นดำ นานกว่า 20 ปี แล้ว และยังไม่มีรายงานว่าเป็นพิษภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง

กลไกการเกิดพิษต่อลูกน้ำยุงลาย

เกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์บีที (Bacillus thuringiensis) ที่อยู่ในรูป Spore ซึ่งมีสารพิษ Toxin Gene อยู่แล้ว ล่องลอยอยู่ในน้ำที่มีลูกน้ำยุง เมื่อกลืนกิน จุลินทรีย์บีทีเข้าไป สารพิษซึ่งเป็น Protoxin จะถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่มีความเป็นด่างสูง (pH 8-9) ย่อย Protoxin สลายไปเป็น Toxicpolypeptide (Toxin) และเมื่อ Toxin ไหลไปถูกเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารจะทำให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบ บวมพองและเซลล์แตกเป็นเหตุทำให้ลูกยุงป่วยเป็นอัมพาต และตายไปในที่สุด

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ สูตรเข้มข้นพิเศษสำหรับ
หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น สูตร 1-10 และ 88
อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ สูตรเข้มข้นพิเศษ (สำหรับหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 1-10 และ 88 )
ประกอบด้วยแร่ธาตุอาหารครบถ้วนสำหรับการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของ จุลินทรีย์อย่างสมบูรณ์ เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุอาหารที่ครบถ้วนสำหรับการ เจริญเติบโตและการขยายพันธุ์จุลินทรีย์อย่างสมบูรณ์ เช่น แหล่งไนโตรเจนซอร์ท, โปแตสเซียม,คาร์บอนซอร์ท, วิตามินและเกลือแร่ เป็นต้น

วิธีใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 12 (A.BIONANO 12)
นำอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สูตรเข้มข้นพิเศษ A.B.N.12 และหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 1-10,88 ปริมาณอย่างละ 1 ส่วน ผสมกับน้ำเปล่า 1,500 ส่วน คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน (8-12 ชั่วโมง) ก่อนนำไปใช้ฉีดพ่น หรือรด ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ (1 มิลลิลิตร : 1 มิลลิลิตร : 1.5 ลิตร หรือ 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) : 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) : 22.5 ลิตร หรือประมาณ 1 ปี๊ป)

หมายเหตุ : 1. เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ควรใช้ถ้วยตวงยาน้ำ หรือช้อนโต๊ะมาตรฐานสำหรับทำอาหาร ไม่ใช้ช้อนกิน
ข้าว
2. ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ = 15 ซี.ซี หรือ 15 มิลลิลิตร


 รายการสินค้า

ผลิตภัณฑ์ NANO-ACTIVE จำนวน 12 สูตร

  • A.B.N. 1 (A.BIONANO 1) สูตรสำหรับข้าว
  • A.B.N. 2 (A.BIONANO 2) สูตรสำหรับยางพารา
  • A.B.N. 3 (A.BIONANO 3) สูตรสำหรับปาล์มน้ำมัน
  • A.B.N. 4 (A.BIONANO 4) สูตรสำหรับไม้ผล
  • A.B.N. 5 (A.BIONANO 5) สูตรพืชผัก
  • A.B.N. 6 (A.BIONANO 6) สูตรไม้ดอกไม้ประดับ
  • A.B.N. 7 (A.BIONANO 7) สูตรพืชรวม
  • A.B.N. 8 (A.BIONANO 8) สูตรสำหรับมันสำปะหลังและอ้อย
  • A.B.N. 9 (A.BIONANO 9) สูตรบำบัดน้ำเสีย
  • A.B.N. 10 (A.BIONANO 10) สูตรย่อยสลายและดับกลิ่นขยะ
  • A.B.N. 11 (A.BIONANO 11) สูตรกำจัดลูกน้ำและยุงลาย
  • A.B.N. 12 อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ สูตรเข้มข้นพิเศษ
    (สำหรับหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น A.B.N. 1-10 และ A.B.N. 88)
  • A.B.N. 88 (A.BIONANO 88)สูตรสำหรับไม้มหาเศรษฐี(ตะกู) 


ฉลากผลิตภัณฑ์ Nano-Active


 

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน กุ้งไทย (Kaitozan KungThai)

ไคโตซาน กุ้งไทย

ไคโตซาน กุ้งไทย

ไคโตซาน กุ้งไทย

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน กุ้งไทย

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน กุ้งไทย

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน กุ้งไทย

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน

ผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน

ไคโตซาน

ไคโตซาน